IoT VS IIoT

Last updated: 3 Jun 2024
555 Views
IoT VS IIoT

IoT ย่อมาจากคำว่า Internet of Things แปลความหมายแบบเข้าใจง่ายคือ เทคโนโลยีที่สามารถทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้และรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างง่าย เช่น การสั่งเปิดปิด ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์พวกกล้องวงจรปิดที่สามารถดูผ่านมือถือ หรือ แท๊ปเล็ตได้ เป็นต้น นอกจากการเชื่อมโยงข้อมุลต่างๆ แล้ว เรายังสามารถเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์ได้ด้วยและสามารถประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นบนคลาวด์ได้เลย โดยที่ผู้ใช้งานสามาระควบคุมและสั่งการจากระบะไกลได้ด้วย

แล้วอะไรคือ ความแตกต่างระหว่าง IoT และ IIoT

IIoT ย่อมาจากคำว่า Industrial Internet of Things จริงๆ ก็มาจากคำว่า IoT เพียงแต่เติมตัวไอ เพิ่มไปหนึ่งตัว กลายเป็น Industrial Internet of Things ทั้งนี้เมื่อ ระบบอินเตอร์เพื่อการควบคุมนำมาใช้ในระบบโรงงานอุตสหากรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ระดับอุตสาหกรรมนั้นจะมีความพิเศษกว่าการใช้งานทั่วไปๆ อยู่ เนื่องจากว่างานในอุตสาหกรรมต้องการความปลอดภัยสูง ตลอดไปจนถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต้องทนทานต่อ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่หนักมาก สามารถทนร้อน ทนอุณภูมิสูงๆ หรือ อุณหภูมิต่ำจนถึงติดลบได้ ทนการถูกรบกวนด้วยคลื่นสัญญาณแม่เหล็กต่างที่ เกิดขึ้นจากระบบการผลิต

จะสังเกตุได้ว่ารูปแบบการทำงานของ IoT และ IIoT ทำงานเหมือนกันเพียงแต่แตกต่างในการใช้งาน IoT เป็นการใช้งานทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อควบคุมสั่งการ หรือประมวลผลแบบทั่วไป เช่น ในบ้าน ในอาคาร งานการเกษตร ส่วน IIoT นั้นเน้นไปใช้งานในระดับอุตสาหกรรม ตัวอย่างการใช้งาน IIoT นั้นคือ ระบบ Haiwell Cloud SCADA ที่รองรับการใช้งานในอุตสหากรรม ด้วยสามารถเชื่อมระบบเครื่องจักร อุปกรณ์ในโรงงาน อุตสากรรมต่างๆ เพื่อเชื่องโยงข้อมูล ควบคุมและสั่งการเครื่องจักรจากระยะไกล ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่สามารถต่อแบบ IIoT ได้แก่ HMI (Human Machine Interface) อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลและควบคุมสั่งการรองรับการทำงานแบบ IIoT หรืออาจจะเป็น Controller PLC (Programmable Logic Controll)

ในปัจจบันรูปแบบสื่อสารมาตราฐานข้อมูลระหว่าง Server กับอุปกรณ์หรือเครื่อจักร จะสื่อสารผ่าน MQTT ซึ่งการจะทำงานในรูปแบบของ IIoT นั้นอุปกรณ์ต้องการรองรับ จากภาพตัวอย่าง แสดงแผนผังการเชื่อมโยงข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่อวจักรต่างๆ  เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถเก็บข้อมูล Data Logger หรือควบคุมและสั่งการ Monitoring ได้ด้วย โดยสรุป IoT และ IIoT การใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้งานเป็นหลัก และก็สิ่งพิจารณาคือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องรองรับการทำงานที่เหมาะสมกับการใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง
การประยุกต์ใช้งานระบบสารสนเทศแบบอุตสาหกรรม (IIoT) ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment Plant)) By num2002
เนื่องจากระบบควบคุมในปัจจุบันที่นิยมใช้กันในอุตสหากรรมเป็นระบบ PLC (Prammable Logic Controller) ซึ่งระบบ PLC ของ Haiwell นั้นสามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้ง่าย สามารถเชื่อมต่อกับ เซ็นเซอร์ต่างๆ ในงานระบบบำบัดน้ำเสีย DO, PH/TDS, Clorine, Turbidity, Flow and Level sensor ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก สื่อสารแบบ Modbus RS485 , 4-20 mA, 0-10V สามารถเลือกต่อการ์ด Expansion เพิ่มได้ นอกจากนี้ หากระบบมีปัญหา หรือค่าเกินกำหนดสามารถแจ้งเตือนส่ง Line Notification ได้ด้วย และสามารถทำรีโมท Remote เพื่อแก้ไขระบบ หรือ แก้ไขโปรแกรมได้อีกด้วย นอกจากนั้นการควบคุมและเก็บค่า Data logger สามารถดึงข้อมูลต่างๆ เพื่อทำรายงาน Report ผ่านระบบ Haiwell Cloud ได้เลย ทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องจดค่าและได้ค่าที่แม่นยำ เพื่อทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และทางบริษัท อี พาวเวอร์ เซอร์วิส จำกัด (E-Power Service Co.,Ltd) ได้เปิดให้ใช้บริการฟรี ไม่ค่าใช้จ่ายเพิ่มตลอดการใช้งาน
10 Sep 2024
ระบบ IoT x เกษตรการผสานเทคโนโลยี PLC เพื่อยกระดับการเกษตรอัจฉริยะ
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน การเกษตรก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น การประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) ในการเกษตรหรือที่เรียกว่า "การเกษตรอัจฉริยะ" กำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่ช่วยในการเชื่อมโยงระหว่าง IoT และการเกษตรคือ PLC (Programmable Logic Controller) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการควบคุมและจัดการระบบต่างๆ ในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพบทบาทของ PLC ใน IoT เกษตรPLC เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งสามารถโปรแกรมให้ทำงานตามที่ต้องการได้ โดย PLC มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในฟาร์มหรือพื้นที่เพาะปลูก และส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น วาล์วน้ำ, ปั๊มน้ำ, ระบบไฟส่องสว่าง, หรือระบบอื่น ๆ เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
8 Sep 2024
อุปกรณ์ที่นำมาใช้งานร่วมกับ Loadcell Indicator (EP3101-K) เพื่อทำระบบ IoT
Summing Box หรือ Junction Box  คือ กล่องรวมสายสัญญาณของโหลดเซลล์ สามารถรวมสัญญาณฝั่งด้าน Input จากโหลดเซลล์ได้ 4-8 ตัว ขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาดของ Summing Box และจะมี 1 Output ที่จะส่งสัญญาณออกไปยังหัวอ่าน Indicator เพื่อให้รับรู้ค่าและแสดงผล Summing Box หรือ Junction Box  เป็นกล่องที่ช่วยให้การทำงานและการตรวจเช็คอุปกรณ์ง่ายขึ้นถ้าหากเกิดการเสียหายของ Loadcell Indicator EP3101-K สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้ โดยใช้ พอร์ตสื่อสาร RS232/485 เพื่อนำค่าน้ำหนักที่แสดงผลไปใช้งานไม่ว่าจะเป็น SCOREBOARD DISPLAY , PLC , HMI เป็นต้น และยังสามารถแสดงค่าน้ำหนักบนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ด้วยระบบ IoT โดยการเชื่อมต่อกับ HMI  B7H-W (Haiwell) โดยผ่านระบบ  Haiwell Cloud
7 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy